Exotic pet คือ สัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ที่เป็นสัตว์ต่างถิ่น กล่าวคือสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ที่ไม่ได้เป็นสัตว์ที่มีต้นกำเนิดหรือสัตว์ประจำถิ่นของไทย โดยปกติ หรือ พูดง่าย ๆ ก็คือป็นสัตว์เลี้ยงที่นำเข้าจากต่างประเทศทุกชนิด ทั้งสัตว์บกสัตว์น้ำ สัตว์เลี้อยคลาน เช่น นกแก้วมาคอร์ แมวเปอร์เซีย เต่าญี่ปุ่น
Exotic pet แบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม ใหญ่ๆ ได้แก่
1. Rabbit เป็นสัตว์จำพวกกระต่าย
2. Rodent เป็นสัตว์จำพวกฟันแทะ
- Parriedog
- Hamster
- Squirrel
3. Small pocket mammals
- Ferret
- Hedgehog
- Sugar glider
4. Reptile
-Turtle
- Dragon
- snake
5. Avian
- ไก่/เป็ด/ห่าน
- นกสวยงาม แบ่งเป็น นกปากขอ และ นกทั่วไป
- นกธรรมชาติ
6. Mammal
- ลิง/นางอาย
- Fennec fox
7. Wildlife จำพวกสัตว์ป่า เช่น กระทิง แรด ช้าง ฯลฯ
กฏหมาย – เป็นสิ่งแรกที่คุณต้องคำนึงถึงว่าสัตว์ที่คุณจะนำมาเลี้ยงถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่ ถ้าเป็นสัตว์ต้องห้ามก็อย่าได้นำมาเลี้ยงเป็นอันขาด
ขนาดของสัตว์เลี้ยง – สัตว์เลี้ยงที่มีขนาดใหญ่ก็ต้องมีพื้นที่ในการเลี้ยงมากตามไปด้วย และต้องเผื่อพื้นที่ในการที่ให้เขาได้พักผ่อน วิ่งเล่นได้ด้วยและควรเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของเขาให้น้อยที่สุด เช่นถ้านำลิงมาเลี้ยงก็ควรมีต้นไม้ หรือเถาวัลย์ให้เขาได้ห้อยโหน
สังคมของสัตว์เลี้ยง – สัตว์ก็เหมือนคนเรานี่แหละที่ต้องการเพื่อนเช่นกัน ดังนั้นจึงควรหาเพื่อนให้เขาด้วย ให้เขาได้มีโอกาสพูดคุย เล่นกับตัวอื่นๆบ้าง คุณอาจจะเลี้ยงหลายตัวในกรงเดียวกัน หรือถ้าเขาอยู่ด้วยกันนานไม่ได้ก็อาจให้เขาได้อยู่ร่วมกันเพียงบางเวลาก็ได้ จะช่วยให้เขาไม่เหงา และมีสุขภาพจิตที่ดี
การให้อาหารที่ถูกต้อง – ควรเตรียมอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์แต่ละชนิด เช่น พวกกระต่ายนอกจากอาหารเม็ดที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปแล้ว ควรเตรียมอาหารสด เช่น ใบหญ้าสดให้เขาทุกวันด้วย ถ้าเป็นหนู หรือ แมลงก็ควรเตรียมอาหารให้เขาแต่น้อยเพราะเป็นสัตว์ที่ต้องจำกัดอาหาร เราควรศึกษาวิธีกิน อยู่ของสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยงว่าในธรรมชาติจริงๆ แล้วเขามีวิธีการกินอยู่อย่างไรและเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของเขาให้น้อยที่สุด
ที่อยู่ – ควรพิจารณาจากขนาดและชนิดของสัตว์ที่นำมาเลี้ยงกับขนาดเนื้อที่บ้านที่จะนำเขามาอยู่ สัตว์ที่รักอิสระและไม่เป็นอันตรายก็ควรที่จะให้เขาสามารถวิ่งเล่นในบ้านได้ แต่ถ้าเป็นสัตว์ที่ต้องอยู่ในที่จำกัดก็ต้องมีบริเวณให้เขาได้ยืดเส้นยืดสายกันด้วย และใส่ความเป็นธรรมชาติของเขาเข้าไปในสถานที่ที่เขาอยู่ เช่น ถ้าคุณเลี้ยงกบ เป็นกบที่ถือกำเนิดจากไหน ถ้าเป็นกบจากทะเลทรายก็ต้องหาทรายมาให้เขาด้วย เพื่อให้เขารู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านของเขาเอง
ความเข้ากันได้กับเด็กๆ ที่บ้าน – สัตว์เลี้ยงบางชนิดอาจป่วยง่าย หรือ เป็นอันตรายกับเด็กเล็กๆ ที่บ้าน ก็ไม่ควรนำสัตว์อันตรายมาเลี้ยงถ้าบ้านคุณมีเด็กเล็กๆอยู่ด้วยอาจทำให้เกิดอันตรายกับลูกหลานคุณได้อย่างคาดไม่ถึง ควรจะเลือกสัตว์ที่เลี้ยงง่ายไม่เป็นอันตราย เช่น กระต่าย หรือหนูแฮมสเตอร์ตัวจิ๋วมาให้เด็กน้อยแทน
สัตว์ที่ชอบอยู่ตัวเดียว กับ สัตว์ที่ชอบอยู่หลายตัว – สัตว์บางชนิดมักจะมีความสุขเมื่อพวกเขาได้อยู่ร่วมกัน แต่สัตว์บางตัวก็ชอบที่จะได้อยู่ตัวเดียวเพราะรักอิสระ ดังนั้น คุณผู้ที่คิดจะเลี้ยงควรจะศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ดั้งเดิมของเขาด้วย
ความเข้ากันได้กับสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นในบ้าน – ถ้าคุณมีสุนัขหรือแมวอยู่แล้ว ก็ไม่ควรเลี้ยงพวกหนูเพราะหนูอาจกลายเป็นเหยื่อของสัตว์เลี้ยงเจ้าถิ่นของคุณเองได้ ระวังให้ดี อย่าเลี้ยงสัตว์ที่เป็นศัตรูกันนะคะ เตือนเอาไว้ก่อน
หาสัตวแพทย์ที่เชื่อถือได้ – เป็นความคิดที่ดีที่จะมองสัตวแพทย์ที่น่าเชื่อถือและมีความสามารถในการรักษาสัตว์พิเศษเหล่านี้ และสถานที่ควรอยู่ใกล้บ้านเอาไว้เผื่อว่าสัตว์ป่วยจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที
ระดับกิจกรรมของสัตว์เลี้ยง – สัตว์บางชนิดต้องการการออกกำลังสูง แต่บางชนิดอาจจะไม่ต้องการออกกำลังเลย ต้องศึกษาวิธีการเลี้ยงที่ถูกต้องจากหนังสือ หรือ ผู้ที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะด้วย
สัตวแพทย์ผู้รักษาสัตว์เลี้ยง Exotic ขอขอบคุณรายการ VoiceTV และเว็ปไซต์ Youtube
ขอบพระคุณแหล่งอ้างอิงจาก
- slvhospital.com
- siamexoticpets.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น